วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ผู้พิการทางการได้ยิน




บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
      หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน บุคคลที่มีความสามารถในการรับฟังเสียงต่าง ๆ บกพร่องหรือสูญเสียไป เป็นเหตุให้ได้ยินเสียงต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ในกรณีที่สูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อย เรียกว่า หูตึง และไม่ได้ยินเสียงพูดในกรณีที่สูญเสียการได้ยินมาก เรียกว่า หูหนวก

ประเภทของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

      เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 500,1000 และ2,000 เฮิร์ท ในหูข้างที่ดีกว่าเด็กไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือสูญเสียการได้ยินภายหลังก็ตาม 

      เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26 - 89 เดซิเบล วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณความถี่ 500,1000 และ2,000 เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงการ สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง

ประวัติความเป็นมาด้านการศึกษา
      สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินการศึกษาสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดย ม.ร.ว.เสริมศรี เกษมศรี ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกอลอเดท (Gallaudet College) วิทยาลัยทางศิลปศาสตร์แห่งแรกและแห่งเดียวสำหรับคนหูหนวก ได้เปิดหน่วยทดลองสอนคนหูหนวกขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนวัดโสมนัส การสอนคนหูหนวกในตอนนั้นเป็นการสอนพูดโดยใช้ท่าภาษามือประกอบ ต่อมาคุณหญิงกมลา ไกรฤกษ์ ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเดียวกันมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิต (ปัจจุบันคือโรงเรียนเศรษฐเสถียร) ได้รวบรวมภาษามือขึ้นเป็นหนังสือภาษามือไทยขึ้น เพื่อใช้สอนคนหูหนวกใน ประเทศไทย โดยให้มีการสอนพูดรวมกับการใช้ภาษามือและการสะกดนิ้วมือร่วมกับการอ่าน และการเขียนตามปกติ


ภาษามือเบื้องต้นที่ควรรู้
               ภาษามือ เป็นภาษาสำหรับคนหูหนวก ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน โดยอาศัยการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อประกอบการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษามือนั้นไม่ใช่ภาษาสากลที่สามารถใช้ได้ครอบคลุมทุกประเทศ เนื่องจากการใช้ภาษามือจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของภาษาในประเทศ หรือท้องถิ่นนั้น ๆ และเพื่อให้ทราบถึงลักษณะการใช้ภาษามือของไทย ที่ใช้สำหรับการสื่อสารถึงเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น การทักทาย การชื่นชม หรือการแสดงความรู้สึก ดังนั้นเราจึงรวบรวมภาษามือง่าย ๆ จำนวน 5 ท่า
ขอบคุณ
ขอโทษ
น่ารัก
สบายดี
ไม่เป็นไร

รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง ( HEARING AIDS )
           • เครื่องช่วยฟัง ( Hearing aids) แบ่งเป็น 2 ประเภท
                  1.เครื่องชวยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศ
                  2.เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก

          • เครื่องช่วยการรับรู้ด้วยการสั่นสะเทือน (Vibro-tactile hearing aid)

          • การผ่าตัดหูชั้นในเทียม ( Cochlear Implant )


          • เครื่องกลบเสียงรบกวน (Tinnitus masker)

ชนิดของเครื่องช่วยฟัง
       1. เครื่องช่วยฟังแบบพกกระเป๋า (Pocket aid)


2.เครื่องแบบทัดหลังใบหู (Behind the ear hearing aid)

3. แบบใส่ในช่องหู


4. เครื่องช่วยฟังชนิดแว่นตา ( Eyeglasses hearing aid )

5. เครื่องช่วยฟังแบบรับเสียงข้ามหู (Contralateral Routing of Signal)

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เครื่องช่วยฟัง
        
1. การรับฟังเสียงดีขึ้น           
            2. ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินและมีเสียงดังรบกวนในหู เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว
นอกจากการฟังจะดีขึ้น เสียงรบกวนในหูมักจะลดลงหรือหายไป                       
            3. การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยรักษาหน้าที่ของหูให้คงไว้

กฎหมายที่เกี่ยวกับผู้พิการทางการได้ยิน
      กฎหมายที่ได้พูดเกี่ยวกับผู้พิการทางการได้ยินมีดังนี้

        อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
•ข้อ 9 
ความสามารถในการเข้าถึง     
2. ให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการที่เหมาะสมดังนี้
   
(อี) จัดให้มีรูปแบบความช่วยเหลือที่เป็นสิ่งมีชีวิต และเป็นสื่อกลาง รวมถึงคนนำทาง ผู้อ่านและล่ามภาษามืออาชีพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงอาคารและสถานที่ที่เปิดให้แก่สาธารณะ

•ข้อ 21 
เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น และการเข้าถึงสารสนเทศ 
(บี) การยอมรับและอำนวยความสะดวกการใช้ภาษามืออักษรเบรลล์ การสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารเสริม และช่องทาง วิธีการและรูปแบบการสื่อสารทั้งปวงที่สามารถเข้าถึงได้ ที่คนพิการเลือกในการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐ
     
(อี) การยอมรับและส่งเสริมการใช้ภาษามือ

การดูแลผู้พิการทางการได้ยินในประเทศไทย

โทรอักษร ของทีโอที จำกัด (มหาชน)


   


ตู้ TTRS ตู้สื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยิน
  
                                   

สติ้กเกอร์ไลน์ภาษามือ

     

นโยบายและการดูแลคนพิการและคนหูหนวกในประเทศสหรัฐอเมริกา

         สหรัฐอเมริกาจัดเป็นประเทศที่จัดสวัสดิการสังคมแบบ " Modern welfare state" หรือ "Liberal welfare " คือเห็นว่าการจัดสวัสดิการนั้นจะถูกกำหนดโดยรัฐ เฉพาะบางกลุ่มที่เสียเปรียบในสังคมและไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ เช่น ผู้สูงอายุ คนตกงาน คนยากจน และคนพิการ เท่านั้น
  สหรัฐอเมริกามีคนพิการประมาณ 50 ล้านคน หรือ 13 % ของประชากรทั้งหมด

ด้านกฎหมาย


      กฎหมายคนพิการอเมริกัน ปี ค.ศ.1990 (The Americans with disability Act 1990: ADA)
      ด้านการเดินทาง คมนาคมขนส่ง และอาคารสถานที่
      ด้านสินค้า บริการ และอาคาร สถานที่

ด้านโทรคมนาคม

       หน่วยงาน/คณะบุคคลที่กํากับ ดูแลการบังคับใช้กฎหมาย/นโยบาย
       บทบาท ความเคร่งครัดในความรับผิดชอบของสถานประกอบการและนายจ้างต่อคนพิการ
       การศึกษาพิเศษในประเทศสหรัฐอเมริกา

องค์กรสิทธิมนุษยชนชั้นนำสำหรับคนหูหนวกและคนหูตึงในประเทศสหรัฐอเมริกา
มีชื่อว่า National Association of the Deaf หรือ NAD

                     


เปรียบเทียบประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

                     

การช่วยเหลือและพัฒนาอาชีพ

     ไทย สถานประกอบการเอกชนที่มีลูกจ้างมากกว่า 200 คนขึ้นไป ต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คนเศษของทุก 200 คนถ้าเกิน 100 คนให้รับคนพิการ 1 คน แต่ถ้านายจ้างที่ไม่ประสงค์หรือไม่รับคนพิการเข้าทำงานที่กำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูคนพิการเป็นรายปี ที่รับครั้งหนึ่งของอัตราจ้างขั้นต่ำที่ใช้บังคับในท้องที่สถานประกอบการตั้งอยู่*365* จำนวนคนพิการที่ไม่รับเข้าทำงาน การประกาศรับสมัครต้องประกาศไม่น้อยกว่า 30 วัน
    สหรัฐอเมริกา สถานประกอบการเอกชนที่มีลูกจ้างทุกๆ 15 คน ต้องพิจารณารับคนพิการเข้าทำงานหนึ่งคนหรือคิดเป็น 6.6% ของลูกจ้างทั้งหมด อาจมีคนพิการมาสมัครเข้าทำงาน สถานประกอบการต้องไม่เลือกปฏิบัติหรือปฏิเสธการรับเข้าทำงานคนพิการที่มีคุณสมบัติในการทำงานนั้นได้ เนื่องมาจากความพิการของเค้า นอกจากนี้องค์กรต้องมีช่องทางในการสื่อสารข้อมูลต่างๆกิ๊กเพื่อนและทำให้ลูกจ้างที่พิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นด้วย

การช่วยเหลือและการพัฒนาด้านสังคม


    ไทย ให้การยอมรับ มีส่วนร่วมทางสังคม และให้สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆที่จำเป็นต่อคนพิการ -ด้านการขนส่งสาธารณะ- ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกโดยตรงกับคนพิการ -ด้านสินค้าบริการและอาคารสถานที่- ลักษณะอาคารสถานที่หรือบริการศานะอื่นๆที่ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกโดยตรงกับคนพิการ
    สหรัฐอเมริกา รัฐหรือองค์กรสาธารณะอื่นๆจะปฏิเสธการให้บริการแก่คนพิการด้านสิ่งใช้สอย การบริการและการติดต่อสื่อสารไม่ได้ -ด้านการขนส่งสาธารณะ- หากพื้นที่ใดไม่มีคนสงสารนักต้องมีการขนส่งประเภทอื่นๆจัดรองรับเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนพิการด้วย -ด้านสินค้าบริการและอาคารสถานที่- อาหารที่สถานะที่จัดทำโดยทางภาครัฐและภาคเอกชนหรือธุรกิจเช่นภัตตาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ คลินิกแพทย์ ร้านขายยา ห้องสมุด สวนสาธารณะ สถานบริการทางสังคม โรงเรียน จะต้องไม่เลือกปฏิบัติและต้องจัดสภาพเพื่อให้คนพิการเข้าถึงได้ -การโทรคมนาคม- บริษัทร้านโทรศัพท์ต้องมีระบบการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการหูหนวก หรือบริการอื่นๆที่เทียบเคียงระบบนี้โดยจะไม่เพิ่มค่าบริการกับระบบบริการประเภทนี้ (Telecommunication devices for the deaf = TDD)



การกำกับดูแล การบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย

     ไทย มีรัฐมนตรีที่รักษาการพระราชบัญญัตินี้มี 3 รัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย(ปัจจุบันถ่ายโอนไปกระทรวงการพัฒนาสังคม) กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ มีเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเพื่อใช้ในกิจกรรมการสงเคราะห์และพัฒนาคนพิการ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริจาคดอกผล การหาประโยชน์จากเงินกองทุนรวมทั้งรายได้อื่น –ทัศนะต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย- การละเว้นไม่ถือเป็นสิ่งผิดกฏหมายและไม่ลงโทษผู้ละเมิดกฏหมาย
     สหรัฐอเมริกา การนำกฎหมายไปใช้ เป็นกฎหมายที่ประกาศโดยรัฐบาลกลาง และนำไปบังคับใช้โดยรัฐบาลแต่ละมลรัฐ ที่อาจมีความแตกต่างและความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันบ้าง ในเรื่องของการสนับสนุนงบประมาณ งบประมาณอยู่ในส่วนค่าใช้จ่ายทางสังคมที่รัฐบาลการจัดสรรในแต่ละปีประมาณร้อยละ 25% ของ GDP -ทัศนะต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย- การละเว้นถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายและลงโทษผู้ละเมิดกฏหมายแต่จะเอาจริงจังเพียงใดขึ้นอยู่แต่ละรัฐ 




*ศึกษาดูงาน*



     โรงเรียนเศรษฐเสถียร เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนที่จัดให้การศึกษาแก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พัฒนาขึ้นมาจากหน่วยทดลองสอนคนหูหนวกโรงเรียนเทศบาล ๑๗ (วัดโสมนัสวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๔ ต่อมาในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๙๕ คุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ ได้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สิน มีเงินสด ที่ดิน และบ้านส่วนตัวของท่าน ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๓๗ ถนนพระราม ๕ ตำบลถนนนครไชยศรี อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ตั้งเป็นมูลนิธิให้ชื่อว่า "มูลนิธิเศรษฐเสถียร" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งตระกูล "เศรษฐบุตร" อันเป็นตระกูลของพระยานรเนติบัญชากิจ สามีของท่าน กับตระกูล "โชติกเสถียร" ซึ่งเป็นตระกูลของคุณหญิงเอง มูลนิธิเศรษฐเสถียร มีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดสร้างโรงเรียนสอนคนหูหนวกขึ้นในที่ดินแห่งนี้
     ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคาร โรงเรียนสอนคนหูหนวกและงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์และการดำเนินงานของโรงเรียน ในปีที่บรรจบครบรอบปีที่ 2 แห่งการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๖ ได้มีพิธีเปิดโรงเรียนสอนคนหูหนวกในประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
     ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งนี้ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิต อันเนื่องมาจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งใหม่ขึ้นที่บริเวณอาคารสงเคราะห์ทุ่งมหาเมฆ
     ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้โรงเรียนสอนคนหูหนวกทั่วประเทศ เปลี่ยนชื่อ จากโรงเรียนสอนคนหูหนวก เป็นโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดต่างๆ คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ได้เสนอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิต เป็นโรงเรียนเศรษฐเสถียร เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ มูลนิธิเศรษฐเสถียร ที่ยุบเลิกไป จึงปรากฏชื่อโรงเรียนเศรษฐเสถียร ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๑๘
     ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ไว้ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทาน

     พันธกิจ คือ มุ่งพัฒนาให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบให้เป็นผู้นำทางด้านวิชาการและวิชาชีพโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและสังคม มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีวินัยและคุณธรรมบนพื้นฐานวัฒนธรรมไทย เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


ความรู้สึกและความต้องการของผู้พิการทางการได้ยิน 

     ไม่ชอบแบบนี้เลย ไม่ชอบความเงียบ อยากได้ยินอยากรับรู้อะไรเหมือนคนอื่นบ้างปัญหาที่ทำให้ท้อและ เหนื่อยที่สุด ก็คือ อุปสรรคในการสื่อสาร บางครั้งรู้สึกว่าคนรอบข้างไม่ค่อยเข้าใจเรา เช่น เวลาขึ้นรถเมล์ พอกระเป๋าถามว่าจะไปลงไหนก็ต้องใช้วิธีเขียนบอกบางครั้งก็ทำให้เขาไม่พอใจเพราะเสียเวลาหรือ ถ้าต้องการจะโทรศัพท์ก็ต้องเขียนข้อความให้คนหูดีโทร.ให้ ถ้าเจอคนที่ไม่เข้าใจเขาไม่ยอม ช่วยเหลือพวกเขา ไม่สามารถเข้าใจอะไรได้ง่ายๆ หรือไม่เข้าใจอะไรที่มันซับซ้อน ลึกซึ้ง อย่างเช่น อาจารย์วิชาประวัติศาสตร์ บอกว่า วิชานี้จำเป็นต้องมีสื่อที่ใช้ในการสอนเยอะมาก เพราะเข้าใจยาก แค่คำว่า สุโขทัย ก็อธิบายกันจนหมดคาบ 
“คนหูหนวกจะเป็นคนที่เหงามากๆ เลย การที่ได้ไปพบเพื่อน ทำกิจกรรม หรือ เที่ยวด้วยกัน ทำให้รู้สึกว่ามีสังคม ได้สนุกสนานกับเพื่อนที่เข้าใจ”

สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ 

คนที่คอยพูดคุย ไม่จำเป็นว่าต้องรู้ภาษามือหรือ หูหนวกแบบเดียวกัน รู้สึกเหมือนอยากมีคนคอยเข้าใจ ไม่มองว่าพวกเขาผิดปกติ ปฎิบัติกับพวกเขาเหมือนคนทั่วไป 
และสิ่งที่น้องๆ ต้องการมากที่สุดคือ ในการเรียนพวกน้องๆ ไม่เหมือนคนปกติทั่วไป คำบางคำไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างทุรักทุเร สื่อในการเรียนที่มีไม่อาจเพียงพอน้องๆ อยากเข้าใจอยากเรียนได้เหมือนคนปกติทั่วไป อยากมีงานทำที่ดี เรียนจบเป็นความภูมิใจให้แก่ครอบครัวว่าถึงแม้ตนเองไม่ปกติ แต่ตนเองสามารถทำได้ดั่งเช่นที่คนปกติทำ


สิ่งที่เรียนรู้จากการลงพื้นที่

    เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 กลุ่มเราได้ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับผู้พิการทางการได้ยินที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนคนพิการทางการได้ยินเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเราเดินทางไปถึงที่โรงเรียนเราก็ได้ไปพบกับรองผู้อำนวยการสายใจ สังขพันธ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่พวกเรา ครูได้กล่าวว่าโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนของในหลวง ในหลวงท่านทรงเห็นละให้ความสำคัญกับเด็กที่พิการทางการได้ยิน จากนั้นรองผู้อำนวยการก็ได้ส่งต่อเราให้กับครูตุ้ยนุ้ยซึ่งเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ คุณครูท่านนี้ได้พาเราไปเยี่ยมชมการเรียนการสอนของโรงเรียนแห่งนี้ และพาเราไปพบคุณครูญาดา ซึ่งเป็นครูที่ได้ใกล้ชิดกับในหลวง ได้ทุนการศึกษาจากในหลวง ดังนั้นจากการที่ได้เข้าไปพูดคุย พบเห็น ได้สอบถามการใช้ชีวิตของผ็พิการทางการได้ยินนั้นพบว่า เขาก็เหมือนกับคนปกติทั่วไป มีแขน มีขา มีความสามารถ คนหูหนวกอ่านออกเขียนได้ บางคนพูดได้ด้วยซ้ำ อย่างเดียวที่เขาไม่เหมือนกับเราคือการได้ยินเสียง เช่นนี้นั้นคนปกติก็ควรปฏิบัติตันกับเขาให้เหมือนคนทั่วไป คือคนหูหนวกบางคนก็ไม่ชอบที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตนเองหูหนวกไม่ชอบที่จะต้องให้คนอื่นช่วยเหลือเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ถ้าเกิดว่าเราเจอคนหูหนวกข้างนอกเราก็สามารถสังเกตุได้จากการใช้ภาษามือของเขาถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือเราก็ค่อยยื่นมือเข้าไปช่วยไม่ต้องมองด้วยสายตาสงสารหรือเวทนาเขา
        จากการที่เราได้ไปศึกษาดูงานในครั้งนี้นั้น สิ่งที่เราคิดว่าเราจะนำไปแจกให้กับน้องๆก็คือเข็มกลัดที่มีสัญลักษณ์แสดงถึงผู้พิการทางการได้ยิน จากความคิดของพวกเราคิดว่าเข็มกลัดนี้จะช่วยทำให้คนทั่วไปมองแล้วรู้ว่าบุคคลผู้นี้คือคนหูหนวก คนทั่วไปที่เห็นก็สามารถช่วยเหลือเขาได้ เราจึงจัดทำดำเนินเรื่องเป็นที่เรียบร้อยพอไปถึงโรงเรียนเราได้นำเข็มกลัดนี้ไปเสนอให้กับรองผู้อำนวยการดู ท่านบอกว่า “น่ารักดีนะ แต่พวกเธอถามคนหูหนวกแล้วหรือยังว่าเขาชอบมั้ยที่จะต้องมาติดเข็มกลัดเพื่อบอกให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองเป็นคนพิการ คนหูหนวกแทบจะไม่มีอะไรต่างจากคนปกติเลยนะ” เมื่อท่านรองพูดเช่นนี้ก็ทำให้เราฉุดคิดได้ เราลืมถามความต้องการของน้องไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้เราเลยนำเข็มกลัดนี้และแผ่นพับใบปลิวที่เราได้ทำขึ้นมาซึ่งเป็นแผ่นพับเสียงจากใจ เพื่อสื่อให้คนทั่วไปกล้าท่จะพูดคุยกับคนหูหนวกแม้พวกเขาจะไม่รู้ภาษามือก็ตามแต่ก็อาจใช้ภาษาเขียน ภาษากายแทนก็ได้เพื่อเป็นการไม่สร้างความแบ่งแยกให้กับผู้พิการ ยิ่งเรากล้าพูดคุยกับเขา เขาก็ยิ่งจะสบายใจและรู้สึกว่าตัวเองก็เป็นคนปกติเช่นเรา และเราก็นำสองอย่างนี้ไปแจกที่อนุเสาวรีย์ชัย


     จากนั้นเราก็ได้ทำการสอบถามท่านรองและครูอาจารย์ว่าถ้าพวกเราจะอยากทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้กับน้องๆเราควรจะทำอะไรดี ท่านรองเลยเสนอให้พวกเราทำสื่อการสอนมาให้น้องๆ ไม่ว่าจะเป็นสมุดภาพคำศัพท์ การท่องสูตรคูณ การแต่งหน้า ดูแลความสวยความงามต่างๆ เพราะน้องๆชอบเปิดอ่านยิ่งถ้ามีภาพสีสันสดใสประกอบแล้วนั้นน้องๆก็จะชอบอ่านกัน ทางเราก็เลยนำความคิดนี้กลับมาทำเป็นหนังสือภาพการเรียนการสอน มีสมุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กล่องMagic box สมุดสูตรคูณแม่ต่างๆ การดูแลผิวพรรณของวัยรุ่น และเมื่อเราทำเสร็จเรียบร้อยเราก็ทำการส่งไปรษณีย์ไปให้น้องๆสิ่งที่เรียนรู้จากการลงพื้นที่


 

         

         
   
                               
                   
                      

          


บรรนาณุกรม
กระทรวงการพัฒนาทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559) . การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนตุลาคม 2559 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. วันที่ค้นข้อมูล 11 พฤศจิกายน 2559, จาก
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ครูญาดาชินะโชติ'เชื่อมโลกเงียบด้วยภาษามือ. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤศจิกายน 2559, จาก
กสทช. (2559). พจนานุกรมภาษามือไทย. วันที่ค้นข้อมูล 12พฤศจิกายน 2559, จาก
กระทรวงแรงงาน. (2559). กฏหมายสำหรับคนพิการ. วันที่ค้นข้อมูล 8 พฤศจิกายน 2559, จาก
บ้านเมือง. (2555). นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางการได้ยิน. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤศจิกายน 2559, จาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี เชื้อสุวรรณทวี. การเปรียบเทียบกฎหมายด้านคนพิการของประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา Comparative study in disability law of Thailand, United Kingdom and United States of America. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2559, จาก      
พงษ์พินัย ไชยสิทธิ์. (2558). การคุ้มครองสิทธิคนพิการในสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศไทย และประเทศอื่นๆ. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2559, จาก
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย มพพท. (2559). การจ้างงาน. วันที่ค้นข้อมูล 12พฤศจิกายน 2559, จาก
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์. (2559). โรงเรียนโสตศึกษา. วันที่ค้นข้อมูล 12พฤศจิกายน 2559, จาก
ยุพา วงศไชย. (2545). นโยบายสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ระพีพรรณ คำหอม. (2545). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อารยัน มีเดยี จํากัด.
โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์. (2559).  ประวัติโรงเรียน. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤศจิกายน 2559, จาก
วิริยะ นามศิรพิงศ์พันธ์. (2546). กฎหมายและกฎระเบียบที่จํากัดสิทธิคนพิการในการประกอบอาชีพ.
เว็บท่าสำหรับคนพิการ. (2559). กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ. วันที่ค้นข้อมูล 8 พฤศจิกายน 2559, จาก
เว็บท่าสำหรับคนพิการ. (2559). คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2559, จาก
                http://www.pwdsthai.com/index.php?option=com_content&view=category&id=165&Itemid=559
สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย. (2559). โลกของคนหูหนวก. วันที่ค้นข้อมูล 11 พฤศจิกายน 2559, จาก
                http://nadt.siam.im/main.html
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2559). ประวัติความเป็นมาของการศึกษาพิเศษ. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤศจิกายน 2559, จาก

TNN24. (2559). ครูผู้พิการทางการได้ยินตั้งปณิธานนำคำสอนของพ่อถ่ายทอด. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤศจิกายน 2559, จาก 
TTRS. (2559). ตู้ TTRS ตู้สื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ลดช่องว่างทางการสื่อสาร. วันที่ค้นข้อมูล 13 พฤศจิกายน 2559, จาก

จัดทำโดย
กลุ่ม Everyday brings new choices
สมาชิก
นางสาว กรรณิการ์ คชารักษ์      56020730   เลขที่ 20
นางสาว กุมารี รัตนแสงทอง     56021264   เลขที่37
นางสาว ขวัญจิรา ตะพัง           56021265    เลขที่ 38
นางสาวนิศารัตน์ มนตรี            56021279   เลขที่ 48
นางสาว พัชศรา บุญศรี             56021290   เลขที่ 57
นางสาว ศิริพร  ชะเอม               56021298   เลขที่ 64
นางสาว สุมิตตา ตวงธนานันท์   56021305   เลขที่ 69

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น